การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) โดยมีแนวทางในการดำเนินงานของบริษัทฯให้เกิดความสมดุลครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ (Value Chain) ภายใต้หลักจริยธรรมและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(“สำนักงาน ก.ล.ต.”) และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับนานาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการที่มุ่งมั่นให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร กล่าวคือ

“มาลี พร้อมจะทำหน้าที่อย่างมุ่งมั่นที่จะดูแลสุขภาพของทุกคนบนโลกใบนี้ เพราะเราเชื่อว่า สุขภาพที่ดีคือรากฐานของความพร้อมที่สามารถสร้างชีวิตที่ดีกว่าและมีความสุขที่สุด

มาลี พร้อมเติบโตไปกับผู้บริโภคทุกคนให้เขาแข็งแรง มีความสุข เติบโตไปกับพนักงานทุกคนให้ประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องงานและชีวิต  เติบโตไปกับเกษตรกรของเราทุกคนให้ภาคภูมิใจในอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเติบโตไปกับสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ ที่จะคงความอุดมสมบูรณ์คอยหล่อเลี้ยงพวกเราต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

ในฐานะองค์กรพวกเรา “มาลีกรุ๊ป” จะยังคงก้าวต่อไปเพื่่อให้เราได้ทำหน้าที่่ดููแลชีวิตของพวกเขาเหล่านี้้ให้ดีมากขึ้้นกว่าเดิม เพราะทุุกวันที่่เราเติบโต ทุุกชีวิตก็เติบโตอย่่างมีความสุุขไปพร้อมๆ กัน”

ดังนั้นบริษัท จึงประกาศใช้นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Policy) เพื่อให้ครอบคลุม ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนองค์กร ดังนี้

  1. พัฒนากระบวนการทางธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส รวมถึงการสนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

ยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด

ปฏิบัติต่อแรงงานด้วยความเท่าเทียมกันและเป็นธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ

คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

  1. ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในการสร้างจิตสำนึกเรื่องการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม

จัดการให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและถูกสุขอนามัย

มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

  1. สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ

คัดสรรและส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการผลิตให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค

สร้างสรรค์สินค้าด้วยนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคที่หลากหลาย

สร้างการเติบโตของยอดขายและผลกำไร

สร้างและส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน

  1. การพัฒนาชุมชนและสังคม

กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบจากการดำเนินงานของธุรกิจที่มีต่อชุมชนและสังคม

การสร้างสรรค์สังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม

ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน คู่ค้า ผู้มาติดต่อ เพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน

ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพของพนักงานและครอบครัว

  1. ส่งเสริมการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร

ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางดิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลมาจากการดำเนินการของบริษัท และบริษัทในเครือ และรวมถึงคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง

ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกรจก

เพื่อให้นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนฉบับนี้เกิดผลในทางปฏิบัติ บริษัทฯ ขอให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับต้องเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเองเพื่อให้บริษัท สามารถบรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตั้งไว้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง, น้ำผลไม้ยูเอชทีและพาสเจอร์ไรส์ภายใต้ตราสินค้า “มาลี” ผลิตและจัดจำหน่ายนมยูเอชทีและพาสเจอร์ไรส์ภายใต้แบรนด์ “ฟาร์มโชคชัย” รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิตให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งธุรกิจอื่นๆในกลุ่มบริษัทมาลี

ห่วงโซ่คุณค่าของธุุรกิจเริ่มต้นที่่แหล่งวัตถุดิบส่งมายังโรงงานของบริษัทเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง, น้ำผลไม้ยูเอชที, พาสเจอร์ไรส์ และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มอื่นๆ  จากนั้นสินค้าของบริษัทฯ จะส่งเข้าคลังสินค้าเพื่อกระจายไปยังตัวแทนจัดจำหน่ายในหลายรูปแบบก่อนถึงผู้บริโภค  และส่วนที่รอส่งมอบสินค้าตามสัญญาจ้างผลิตให้แก่ลูกค้า  กระบวนการและแนวทางในการจัดการด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจบริษัทฯ ได้มีการดำเนินการดังนี้

3.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม

ภาพรวมการดำเนินงานและการจัดการด้านความยั่งยืน บริษัทฯ ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบและอาหารอย่างเคร่งครัดตลอดห่วงโซ่อุปทาน และมีการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพด้านอาหารอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อให้การควบคุมคุณภาพอาหารของบริษัทฯ เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงไปจากการดำเนินธุกิจของบริษัทฯเป็นทางเพื่อสร้าง “มาลี” สู่แบรนด์ที่มุ่งสู่จุดหมาย ในการช่วยให้ทุกคน มีสุขภาพที่ดีและมีความสุขมากขึ้นในทุกๆวันด้วยขุมพลังจาก พืชผักผลไม้และผลิตภัณฑ์จากนม

“Journey to build Malee towards purposeful brand that helps people become healthier and happier everyday through the power of plant and dairy”

บริษัทฯ มีนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนมีความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยกันป้องกันปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. บริษัทฯจะปฎิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนด
  2. ปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนต่างๆในกระบวนการผลิตให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  3. ใช้น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ควบคมน้ำเสีย อากาศเสีย การหกรั่วไหล หรือการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมและเหตุเดือดร้อนรำคาญจากกิจกรรมของบริษัทฯ
  5. ควบคุมการเกิดของเสียจากทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต

 

นโยบายสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมประเด็นสำคัญในการดำเนินงานให้สอดคล้อง ตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาระสำคัญต่อธุรกิจ  การควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น มลพิษ ของเสีย หรือระดับการใช้ทรัพยากร เป็นต้น   และกำหนดให้ คุณมานิต จำนงค์วัฒน์ เป็นผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ที่มีการแต่งตั้งและแจ้งต่อกรมโรงงานมีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และกระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร พร้อมทั้งกำหนดให้ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็น เป้าหมายหรือหนึ่งในตัวชี้วัดของบริษัทฯ ตลอดจนสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร โดยได้มีแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ดั้งนี้

1. การใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญการใช้ทรัพยากรในกระบวนการธุรกิจ  เพื่อให้ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าและพลังงาน การใช้น้ำ การลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการธุรกิจ รวมถึงของเสียหรือมลภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

– มีการออกแบบกระบวนการผลิต และแบบไลน์การผลิตที่่ผ่านการตรวจสอบจากทีมงานและที่่ปรึกษาที่่มีความเชี่ยวชาญ ก่อนนำเสนอและอนุมัติในการดำเนินการ พร้อมทั้งจัดให้มีการทำรายงานประสิทธิภาพของไลน์การผลิต และกำหนดให้มีการพัฒนาปรับปรุง

– จัดให้มีระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ(Preventive maintenance) เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อเป็นการใช่้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

– การจัดการกับของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต จะมีการดำเนินการจัดการตามกฎหมายข้อบังคับและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้มีส่วนได้้เสีย มั่นใจได้้ว่าการดำเนินงานของบริษัทฯไม่ขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมาย

– บริษัทฯ มีการดำเนินการสอดคล้องกฎหมายข้อบังคับและระบบคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ

2.การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน โดยปัจจุบันบริษัทฯให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขมลพิษที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่ส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ในการพัฒนากลไกที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศลดลง นำไปสู่การปฏิวัติเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม

3. การบริหารจัดการพลังงาน

บริษัทฯ ตระหนักและมุ่งมั่นที่จะควบคุมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และยังสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานของบริษัทฯ  พลังงานทางเลือกเช่น ก๊าซ LPG หรือพลังงานสะอาด เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการสร้างโรงงานที่่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทฯได้จัดตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช่้พลังงานสะอาดทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์โดยในปีนี้ได้เริ่มติดตั้งโซล่าร์รู๊ปบนหลังคาโรงงานสามพราน ซึ่งจะใช้งานได้ต้นปี 2567

4. การจัดหาวัตถุดิบ อย่างรับผิดชอบ

บริษัทฯ ตระหนักถึงการให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงกำหนดแนวทางเพื่อช่วยลดความเสี่ยง และเป็นการสะท้อนถึงการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบขององค์กร บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติที่ดี  สำหรับกรอบการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ  ครอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การลดการใช้สารเคมี สารกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง  การดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ  การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม  การจัดหาวัตถุดิบที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ปฏิบัติตามกฎหมายและดำเนินการที่เคารพสิทธิมนุษยชน  ครอบคลุมถึงการไม่ใช้แรงงานเด็ก การไม่บังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย เป็นต้น

5. ประสิทธิภาพจากการใช้น้ำ

บริษัทฯ มีการจัดการใช้น้ำอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร มีการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานในการใช้น้ำให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

3.2 ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

การจัดการพลังงาน

สำหรับปี 2566 บริษัทฯมีการดำเนินการติดตามและประเมินผล ประสิทธิภาพของไลน์การผลิต และการพัฒนาปรับปรุง การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งระบบไฟแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ร้อยละ 5.08 เมื่อเทียบกับฐานการผลิตเดียวกันกับปี 2565

 

 

ข้อมูลเป้าหมายการใช้ไฟฟ้าปี 2567

การใช้ไฟฟ้าสำหรับปี 2567 กำหนดเป้าหมายลดลงร้อยละ 7.5 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้า kWhต่อตัน จากปี 2566 โดยมีมาตรการใช้ไฟฟ้าทดแทนจากโซลาร์รูฟมากกว่า 974,375 kWh ในปี 2567

การจัดการน้ำ

บริษัทฯมีการใช้น้ำประปาในปี 2566 จำนวน   426,558 ลูกบาศก์เมตร  โดยมีการซ่อมบำรุงและตรวจสภาพของระบบการจ่ายน้ำภายในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่องเปรียบเทียบกับปริมาณใช้น้ำปี 2565 มีการใช้จำนวน 465,182 ลูกบาศก์เมตร  ทำให้สามารถ ลดการใช้น้ำประปาได้ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับฐานการผลิตเดียวกันกับปี 2565

 

 

สำหรับอาคารสำนักงานมีการปรับอัตราไหลของน้ำที่อ่างล้างหน้าและสุขภัณฑ์ภายในอาคาร พร้อมทั้งมีการจัดการน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดร้อยละ 100 ของปริมาณน้ำทิ้งทั้งหมด ในจำนวนนี้สามารถนำมาใช้ในระบบสุขาภิบาลและสาธารณูปโภคภายในอาคาร

ข้อมูลเป้าหมายการใช้น้ำปี 2567

การใช้ทรัพยากรน้ำสำหรับปี 2567 กำหนดเป้าหมายลดลงร้อยละ 2 ของปริมาณการใช้น้ำ ลูกบาศก์เมตร (m³) จากปี 2566 โดยมีมาตรการติดตามปริมาณการใช้น้ำประจำวันและตรวจสอบแก้ไขกรณีผิดปกติ

การจัดการขยะ ของเสีย และมลพิษ

บริษัทฯมีการจัดการขยะและของเสียในกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2551 รวมทั้งมีระบบการคัดแยกขยะตามประเภทเพื่อดำเนินการให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการ สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อลดการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบ ในปี 2566 บริษัทฯมีปริมาณขยะ ลดลงจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 49.46 เป็นไปตามเป้าหมายการจัดการขยะ ของเสีย และมลพิษ

 

 

นอกจากนี้ บริษัทมีการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสำนักงานและรอบสถานประกอบการทุกปี โดยในปี 2566 พบว่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ กลิ่น เสียง แสงสว่าง อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่กฎหมายกำหนด และ ไม่พบกรณีสารเคมีรั่วไหลจากการดำเนินธุรกิจ

เป้าหมายการลดการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบสำหรับปี 2567

บริษัทฯมีปริมาณขยะ ลดลงจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 49.46 เป็นไปตามเป้าหมายการจัดการขยะ ของเสีย และมลพิษที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี

 การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

การใช้พลังงานในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพภูมิอากาศของโลกโดยมีผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลก บริษัทฯจึงมีกลไกในการจัดการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบสูง

บริษัท ฯเป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทแห่งการสรรค์สร้าง การเพิ่มผลผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรารถนาที่จะให้พนักงานมีการทำงานอย่างมีความสุขในสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพที่ดี มีการดำเนินภารกิจต่างๆ โดยสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในส่วนการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การดำเนินงานการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงาน มีองค์ความรู้และความเข้าใจแนวคิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร สามารถคำนวณปริมาณการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร นำไปสู่การพัฒนาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนเกิดการบริหารจัดการการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยั่งยืน

ดังนั้นจึงดำเนินการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตาม ISO 14064-1 ซึ่งเป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการ แสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการกิจกรรมต่างๆ ของโรงงาน อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแผนอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริษัทฯ ขอบเขตโรงงาน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ถือเป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเป็นปีแรก โดยกำหนดให้ใช้ปีปฏิทิน พ.ศ.2566 นี้ เป็นปีฐานในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรลง ในปีต่อๆไปทุกปีอย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกจากธุรกิจในอนาคต

การปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 คือการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรงจากกระบวนการผลิตหรือการดำเนินงานโดยตรงขององค์กร ทั้งการเผาไหม้อยู่กับที่ (เช่น เครื่องจักรในการผลิต) การเผาไหม้แบบเคลื่อนที่ (เช่น รถโดยสาร) และการรั่วไหลและช่องทางอื่นๆ

ประเภทที่ 2 คือการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ทั้งพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนหรือไอน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ที่ไม่ได้เกิดจากการผลิตในองค์กร

ประเภทที่ 3 คือการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ เช่น การเดินทางของพนักงานหรือของหน่วยงานภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับองค์กร

 

 

 

ข้อมูลเป้าหมายการใช้พลังงานปี 2567

เชื้อเพลิง ปี 2566 = 32.14 ลิตรต่อตัน เป้าหมาย ปี 2567 < 31.51 ลิตรต่อตัน โดยมีมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ Boiler ในการใช้เชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 16.67 จากปี 2023

 

ในปี 2566 บริษัทฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง 13,864.96 ตัน (หรือกิโลกรัม) คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ,ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม 7,572.40 ตัน (หรือกิโลกรัม) คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ รวม 34,719.98 ตัน (หรือกิโลกรัม) โดยกำหนดให้ใช้ปีปฏิทิน พ.ศ.2566 นี้ เป็นปีฐานในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรลง ในปีต่อๆไป โดยผู้ทวนสอบ คือ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ

โครงการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

บริษัทฯ ได้จัดทำแผนงานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และนำเรื่องความยั่งยืนมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขององค์กร โดยกระบวนการทำงานแบ่งออกเป็น 3 Phase ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 ใน 2 เฟสแรกไปแล้วคือ

Phase 1 Awareness building

Phase 2 Current stage analysis

ในปี 2566 บริษัทฯ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องใน เรื่องความยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการเติบโตขององค์กร  สำหรับแผนงานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ที่ผ่านมา บริษัทฯ เน้นสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานต่อประเด็นความยั่งยืน ความจำเป็น ประโยชน์ และวิธีการเปลี่ยนผ่านอย่างจริงจัง และได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำ current stage analysis เพื่อระบุปัญหาแต่ละด้านและทราบว่าจุดสำคัญที่ต้องแก้ไขปัญหาอยู่ที่ใด และบริษัทฯ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในปี 2566 สำหรับ

Phase 3 Sustainability Target set-up บริษัทฯให้ความสำคัญ กำหนดความเกี่ยวข้องกับรายละเอียดของธุรกิจและพิจารณาวิธีลดผลกระทบที่เป็นลบและสร้างผลกระทบที่เป็นบวกอย่างมีประสิทธิภาพ

   สำหรับแผนงานในปี 2567 บริษัทฯ จะดำเนินการในอีก 2 Phases ดังนี้

Phase 4 Transition Strategy เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเป้าลุเป้าหมายทั้งในระดับการดำเนินงาน การสื่อสาร และระดับผู้บริหาร

Phase 5 Roadmap Building เพื่อกำหนด Roadmap สำหรับการเปลี่ยนผ่านที่มี milestone ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ของบริษัทฯ

 

 

4.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

บริษัทฯมีนโยบายดำเนินธุรกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ภายใต้หลักพื้นฐานทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาเป็นแนวทางเพื่อรักษาดุลยภาพของการดำเนินงานทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางการปฎิบัติดังนี้

  1. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม

การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ถือเป็นหนึ่งหัวข้อในเรื่องจรรยาบรรณกลุ่มบริษัทมาลี โดยเน้นย้ำการประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม  เข้าใจในลักษณะธุรกิจและสถานะการณ์ทั้งลูกค้า  คู่ค้า ซึ่งประกอบด้วย ซัพพลายเออร์  เกษตรกร  และชุมชนรอบข้างว่าต้องพึ่งพิงซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น อันจะส่งผลดีทั้งต่อกิจการและผู้เกี่ยวข้องในระยะยาว

  1. การเคารพสิทธิมนุษยชน

การเคารพในสิทธิมนุษยชนของพนักงานและครอบคลุมถึงพนักงานของคู่ค้าโดยไม่เลือกปฏิบัติพร้อมสร้างค่านิยมองค์กรควบคู่ไปกับการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ของพนักงาน เพื่อการพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคน ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาพนักงาน ให้มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ บริษัทฯให้ความสำคัญในการดูแลพนักงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นมากกว่าคำว่าพนักงาน ที่สำคัญบริษัทฯเน้นการพัฒนาให้พนักงานมี ศักยภาพทางด้านความรู้ (Knowledge Competency) ทางด้านทักษะ (Skill Competency) และด้านคุณลักษณะ (Attributes Competency) โดยบริษัทฯมุ่งมั่นให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำเร็จและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านธุรกิจของบริษัทฯให้มีความเป็นสากลและมาตรฐานระดับโลก

  1. การปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทฯมีความมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันโดยการพัฒนาความรู้ความสามารถนั้นจะดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความสุข และสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นครอบครัวของ Malee โดยสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพมีโครงสร้างค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นมาตรฐานสากล มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ยุติธรรม (KPI) ที่มุ่งเน้นการรวมพลังทางความคิด เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ด้านผลงานมีความจริงใจและซื่อตรงกับทุกคน บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อพนักงานและต่อสังคมทั้งในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การตอบแทนคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีคืนให้กับพนักงาน สร้างการยอมรับ ชื่นชมในผลงานให้ความเคารพ ให้เกียรติทั้งทางด้านความคิด คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เพื่อเปิดโอกาสไปสู่มุมมองแห่งการเรียนรู้ใหม่ พร้อมทั้งสามารถนำมาพัฒนาทักษะ แนวความคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเปิดโลกแห่งประสบการณ์ใหม่อันจะนำมาซึ่งการพัฒนางานอย่างมืออาชีพและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในรูปแบบครอบครัว Malee

บริษัทฯได้เพิ่มเติมสวัสดิการแก่พนักงานตั้งแต่ปี 2565 โดยให้ความทัดเทียมกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงในเรื่องการเพิ่มสิทธิในการลาสำหรับพนักงานชายเพื่อดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรครรภ์ละ 15 วัน รวมทั้งความทัดเทียมกันทางศาสนาโดยให้สิทธิการลาเพื่อร่วมพิธีกรรมทางศาสนาได้สูงสุด 30 วันจากเดิมเฉพาะเพศชายที่นับถือศานาพุทธในการลาอุปสมบทเท่านั้น

  1. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าบริโภคโดยมีนโยบายดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐานความสะอาด และปลอดภัย จนเป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ ได้รับประกาศนียบัตรและใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ รวมทั้งบริษัทฯ ยังมีหน่วยงานสายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค ที่เบอร์ 02-532-3572 เพื่อแสดงความรับผิดชอบในสินค้าของบริษัทต่อผู้บริโภคด้วย

  1. การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน

บริษัทฯ จะใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถขององค์กรสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่งเสริมบุคลากรเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการและแก้ไขปัญหาให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้นเพื่อยกระดั้บคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคม

  1. การมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย  เพื่อทราบถึงประเด็นความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง  เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคม รวมถึงสร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือที่จะผ่านพ้นอุปสรรคไปด้วยกัน ในภาวะวิกฤต และเป็นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทฯและผู้มีส่วนได้เสีย

4.2 ผลการดำเนินงานด้านสังคม

(1.) พนักงานและแรงงาน

บริษัทฯ ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมให้พนักงานได้ทำงานอย่างปลอดภัยและมีความสุขโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี ผ่อนคลายเพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัยต่อชีวิตของพนักงานและให้พนักงานได้ปรับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานสามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนในการเก็บออม และการแบ่งเวลาในการทำงานและการใช้ชีวิตกับครอบครัว อย่างสร้างสรรค์

ทั้งนี้บริษัทฯยังมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน สังคม และสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน สังคม และสิทธิมนุษยชนเพื่อให้พนักงานของบริษัทฯมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจัดให้มีการทบทวน นโยบายด้านแรงงาน สังคม และสิทธิมนุษยชน ของบริษัทฯ และวัตถุประสงค์ของนโยบายอย่างสม่ำเสมอทุกปี ดังต่อไปนี้

บริษัทฯจะไม่เกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนการใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี

บริษํทฯจะไม่เกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนการใช้แรงงานที่เกิดจากการบังคับหรือไม่สมัครใจ

บริษัทฯจะจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับพนักงานให้มีความปลอดภัย และถูกสุขลักษณะและมีขั้นตอนในการป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ หรือเป็นภัยต่อสุขภาพที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับการทำงาน

บริษัทฯจะเคารพในสิทธิของพนักงานทุกคนที่จะรวมกลุ่มเป็นองค์กร โดยปฎิบัติตามแนวทางของกฎหมาย

บริษัทจะไม่สนับสนุนการกีดกัน หรือการเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมในเรื่องการจ้างงานจ้างอาชีพด้วยเหตุผลด้านสัญชาติ เชื้อชาติ สีผิว อายุ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ถิ่นกำเนิดและวงศ์วาน พื้นฐานทางสังคม ภาษา สภานภาพสมรส ทัศนคติส่วนตัวในเรื่องเพศ ความพิการ การติดเชื้อเอชไอวี การเป็นผู้ป่วยเอดส์ สถานะการตั้งครรภ์ การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเป็นกรรมการลูกจ้างหรือแนวคิดส่วนบุคคลอื่นๆ

บริษัทจะไม่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนใช้บทลงโทษทางร่างกาย การข่มขู่คุกคามทางกายและใจ การใช้วาจาที่รุนแรง

บริษัทจะปฎิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานอุตสาหกรรมในเรื่องชั่งโมงทำงานปกติ วันหยุดประจำสัปดาห์และชั่งโมงการทำงานล่วงเวลา

บริษัทจะจ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องอย่างน้อยเป็นไปตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย และตอบสนองความต้องการพื้นฐานของพนักงานได้อย่างเพียงพอ

บริษัทจะเผยแพร่สื่อสารให้พนักงาน และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถทวนสอบแนวปฎิบัติได้

บริษัทจะทบทวนความเพียงพอ ความเหมาะสม และความมีประสิทธิผลของนโยบายบริษัทและผลการปฎิบัติงานอย่างสม่ำเสมอเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐาน และข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบตามความเหมาะสม

ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 

ในปี 2566 บริษัทฯได้มีการสำรวจผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหลักของบริษัท โดยมีพนักงานร่วมทำแบบสำรวจ จำนวน 1,187 คน คิดเป็นร้อยละ 94% ของพนักงานทั้งหมด และมีการนำผลจากการสำรวจคะแนนผูกพันของพนักงานมาปรับเป็นแผนการพัฒนาความผูกพันของพนักงาน ในปี 2566 และต่อเนื่องในปี 2567  โดยเน้นการพัฒนาใน 3 ด้านหลัก คือ

  1. ด้านความคาดหวังของพนักงาน (EXPECTATIONS) เช่น 1-on-1 Session ระหว่างผู้บังคับบัญชาและพนักงาน, Monthly Team Meeting ภายในทีมและระหว่างทีม เป็นต้น
  2. ด้านการขอบคุณและยกย่องพนักงาน (RECOGNITIONS) เช่น Embed recognition culture in each meeting ใน Meeting ต่างๆ ที่มีการพูดคุยกันอยู่แล้ว ให้เริ่มต้นด้วยการขอบคุณหรือชื่นชมกัน ในสิ่งที่ทีมงานหรือสิ่งแต่ละท่านทำได้ดี ก่อนเริ่มประชุมทุกครั้ง, Quarterly Recognition in each Town hall ทุก Town hall มีการมอบรางวัลพนักงาน ที่มีความโดดเด่น เป็น Role Model ในแต่ละ Culture Pillar เพื่อยกย่องชมเชยตัวแทนพนักงานทีเป็นตัวอย่างที่ดีในแต่ละ Culture  และ ด้านการ Development และเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งเสริม ผลักดัน ขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร
  3. ด้านการพัฒนาสมรรถนะของพนักงาน (DEVELOPMENTS) จากการ เพื่อการพัฒนาตนเองและพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานให้สูงขึ้น ผ่าน Development Model 70-20-10 โดยในปี 2567 พร้อมกับการตั้ง KPI พนักงานในระดับ Section Manager & Above ให้พนักงานมีการวางแผนในการพัฒนา Individual Development Plan – IDP   โดยมีกำหนดช่วงเวลาในการพัฒนาและผลที่คาดหวังจากการพัฒนาที่ชัดเจน  มุ่งไปที่การสร้างพฤติกรรม Learning by Doing

ในปี2566 บริษัทฯมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพพนักงาน ดังนี้

จัดการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานโดยมีการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพให้สอดคล้องกับลักษณะการทำงานของพนักงาน และมีการประสานงานกับทางโรงพยาบาลให้พนักงานสามารถเพิ่มรายการการตรวจสุขภาพได้ในอัตราราคาพิเศษพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกโดยการให้ทางโรงพยาบาลมาให้บริการตรวจสุขภาพที่สำนักงานของบริษัทฯ พบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

การเลือกตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยและคณะกรรมการสวัสดิการ

สวัสดิการพนักงาน ได้แก่ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล/การประกันชีวิตและอุบัติเหตุ /สวัสดิการเงินช่วยเหลือ/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและอื่นๆ

บริษัทฯ มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน โดยในปี 2566 มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

สถิติการเกิดอุบัติเหตุ  (Injury Frequency Rate: IFR)   ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 0

ค่า IFR คือ อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (Injury Frequency Rate: IFR)   = (จำนวนครั้งทั้งหมดที่ได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงาน x  1,000,000)

สำหรับสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2566 บริษัทฯยังคงมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังคงรูปแบบในการดำเนินงาน  การปฎิบัติงานของพนักงาน การรักษาระยะห่างระหว่างกัน (Physical Distancing)  ที่ได้มาตรฐานอย่างเข้มงวด

การควบคุม COVID-19 ภายในบริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) โดยคณะทำงานจัดการ COVID-19

(2) ลูกค้า

บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าบริโภคโดยมีนโยบายดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐานความสะอาด ปลอดภัยและมีมาตรฐานคุณภาพ บริษัทฯได้เปิดช่องทางสำหรับผู้บริโภคในการแจ้งเรื่องร้องเรียนในสินค้า  รวมทั้งมีช่องทาง Customer Complain เพื่อการติดต่อแจ้งในหลายช่องทางดังนี้

FB Malee : จ – ศ  เวลาทำการ 8.00 – 20.00

Line, YouTube, Instagram, brand website, E-mail Malee, Call Center : จ.- ศ.00 – 17.30

Operator : จ – ศ  เวลาทำการ 8.00 – 17.00

รวมทั้งมีการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า โดยในปี 2566 บริษัทได้รับความพึงพอใจจากลูกค้าในระดับความพึงพอใจมาก(ระดับ 4 จาก 5)  และมีข้อร้องเรียนจากลูกค้าในเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายของสินค้า ซึ่งบริษัทฯได้ดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

ในปี 2566 บริษัทฯ ดำเนินการด้านชุมชนสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มผลกระทบที่เป็นบวกและเพิ่มความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม และธุรกิจของบริษัทที่อาจส่งผลต่อความยั่งยืนของบริษัทฯ โดย

สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนรอบๆ โรงงาน

มีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐท้องถิ่น, องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร, และกิจกรรมในชุมชน

ส่งเสริมการป้องกันและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

สนับสนุนการป้องกันและ/หรือลดความเสี่ยงทางสังคมที่อาจส่งผลต่อความยั่งยืนของบริษัทฯ

กิจกรรมขยะแลกของ ร่วมกับเทศบาลสีมามงคล

สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์

บริษัทฯร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ งบประมาณ และการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆ เช่นเทศบาลเมืองสามพราน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยพลู องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา มูลนิธิสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โรงเรียนวัดสรรเพชญ มูลนิธิกู้ภัยพรานพิทักษ์ โรงเรียนสามพรานวิทยา เทศบาลตำบลสีมามงคล ที่ว่าการอำเภอสามพราน ชมรมผู้สูงอายุตำบลยายชา ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสามพราน งานกาชาดจังหวัดนครปฐมประจำปี 2566

กิจกรรมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ให้เด็กในถิ่นทุรกันดาร อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  (29 ตุลาคม 2566)

สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์

ร่วมกิจกรรม SEEMA RUNNING 2023

8 ลำคลองธรรมชาติ เทศบาลเมืองสามพราน

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  • จัดทำข้อมูลลุ่มน้ำท่าจีน แม่น้ำนครชัยศรี ทีไหล่ผ่านอำเภอสามพราน
  • จัดทำข้อมูลคูคลองธรรมชาติเทศบาลเมืองสามพราน ซึ่งมีทั้งหมด 8 ลำคลอง
  • จัดทำข้อมูลคลองสรรเพชญ และสำรวจพื้นที่คลองสรรเพชญ ซึ่งไหลผ่านหมู่ที่ 1 ต.ท่าตลาด หมู่ที่ 5 ต.ยายชา ระยะทาง 2,500 เมตร ความยาวคลองสรรเพชญเฉพาะติดแนวรั้วโรงงาน ความยาวประมาณ 100 เมตร
  • รับฟังแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูคลองสรรเพชญ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ชุมชน เทศบาล)
  • รับฟังแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่น่ามอง เช่น การจัดการขยะ สภาพภูมิทัศน์
คลองสรรเพชญ ความยาว 2,500 เมตร
คลองสรรเพชญ (ความยาวติดรั้วโรงงาน ประมาณ 100 เมตร)

ปี 2565 บริษัทฯได้สนับสนุนของบริโภคให้แก่มูลนิธิเพื่อการกุศลชื่อ Scholars of Sustenance (SOS) เป็นองค์กรที่จัดหาอาหารเพื่อการบริโภค (A Food Rescue Foundation) โดยขอความร่วมมือจากบริษัทชั้นนำต่างๆ ในประเทศไทยโดยไม่แสวงหากำไร ความหิวโหยและขยะอาหารเป็นสองวิกฤตใหญ่ทั่วโลก ภารกิจของ SOS คือการสร้างความแตกต่างโดยการส่งมอบอาหารที่จะถูกทิ้งแต่ยังมีคุณภาพดีเปลี่ยนเป็นให้บริการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้ที่ต้องการมากที่สุด

โดยบริษัทฯได้บริจาคสินค้าส่วนหนึ่งที่มีคุณภาพดี แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ด้วยเงื่อนไขทางการค้า ให้แก่ทางมูลนิธิ SOS  สำหรับปี 2565 ปริมาณ 179,499 กิโลกรัม คำนวณได้เทียบเท่ากับอาหาร 753,897 มื้อ และบริจาค Sleeve กล่องบรรจุภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิล จำนวน 35,868 กิโลกรัม ซึ่งโดยรวมสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มาจากปริมาณอาหารสร้างขึ้นได้หากนำไปฝังกลบ และการกำจัดกล่องบรรจุภัณฑ์(Co2e หรือ Co2 Equivalence) 559,225 กิโลกรัม    

บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้รับเชิญจากทางหอการค้าไทยเข้าร่วมโครงการ Big Brother ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 โดยเป็นโครงการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อการเติบโตทางธุรกิจ  เพื่อเป็นพี่เลี้ยงหลักในการช่วยเหลือให้คำแนะนำรวมทั้งแนวทางให้ธุรกิจ SMEs เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน  โดยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ เช่น การผลิต การขายและตลาด การบัญชีและการเงิน การจัดซื้อและการบริหารจัดการ   ตลอดจนช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถสร้างแผนธุรกิจที่ยั่งยืนของตนเอง  ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้มวลรวมให้แก่ประเทศอีกทางหนึ่ง ในปี 2565 เป็นรุ่นที่ 6 โดยบริษัทฯเป็นพี่เลี้ยงให้  SMEs รวมทั้ง 6 รุ่นเป็นจำนวน 25 บริษัท